เห็ดหลินรากและดอก 6 สายพันธ์
สมุนไพรบำบัดรักษาโรค รักษาโรค มะเร็ง เบาหวาน ความดัน หัวใจ สะเก็ดเงิน อัมพฤต อัมพาต เป็นยาอายุวัฒนะ เพิ่มพลังทางเพศ
 
เรามีผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ รากและดอก 6 สายพันธ์ จำหน่าย

สนใจสั่งซื้อสินค้า
TEL : 094-6902210
Line id : anuchar12345
email : [email protected]

 

สถิติ
เปิดเมื่อ4/02/2017
อัพเดท14/04/2017
ผู้เข้าชม18622
แสดงหน้า22806
เมนู
สินค้า
บทความ
เห็ดหลินจือกับการรรักษาโรค
รักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยเห็ดหลินจือ
ผลข้างเคียงของเห็ดหลินหลินจือ
รักษาโรคตับด้วยเห็ดหลินจือ
รักษาโรคไตด้วยเห็ดหลินจือ
รักษาโรคภูมิแพ้ด้วยเห็ดหลินจือ
รักษาโรคเก๊าต์ด้วยเห็ดหลินจือ
รักษาโรคหัวใจด้วยเห็ดหลินจือ
รักษาเบาหวานด้วยเห็ดหลินจือ
รักษามะเร็งด้วยเห็ดหลินจือ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเห็ดหลินจือกาโน่
เห้ดหลินจือกาโน่ ทานยังไง
ประสบการณ์จริงผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอก
ประสบการณ์จริงผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือรักษาโรคSLE
สรรพคุณสมุนไพรเห็ดหลินจือ
สรรพคุณเห็ดหลินจือ
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




รักษาโรคภูมิแพ้ด้วยเห็ดหลินจือ

อ่าน 266 | ตอบ 0

โรคภูมิแพ้

   ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่างกายเรา เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้

   ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเรา ได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียกว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการ หลั่งสารฮีสตามีน ( Histamine ) ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่น ลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้


สารก่อภูมิแพ้มี 2 ประเภท ได้แก่
  1. สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสุนัข ขนแมว เกสรหญ้า หรือเชื้อรา เป็นต้น
  2. สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหารเช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล หรือแป้งสาลี เป็นต้น Image

 
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีอาการตามอวัยวะที่เกิดการอักเสบจากการกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ เช่น
 
ผิวหนัง จะทำให้เกิด โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันเรื้อรัง บริเวณใบหน้า ข้อพับแขนขา หรือลำตัว เป็นต้น

 
เยื่อบุจมูก จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกเรื้อรัง ร่วมกับอาการจาม คันหรือคัดจมูก เยื่อบุทางเดินหายใจ จะทำให้เกิด โรคหืด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือหายใจได้ยินเสียงวี๊ด

 
เยื่อบุตาขาว จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการคัน หรือเคืองตาเรื้อรัง แสบตา หรือน้ำตาไหลบ่อย ๆ เยื่อบุทางเดินอาหาร จะทำให้เกิด โรคแพ้อาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วงเรื้อรัง อาเจียน น้ำหนักตัวลด ร่วมกับอาการผื่นเรื้อรังและภาวะซีด

สาเหตุของโรคภูมิแพ้
 
  ปัจจัยด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักมีประวัติบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่บิดาหรือมารดาเป็น หรือไม่ได้แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่บิดาหรือมารดาแพ้ ได้พบว่าผู้ป่วยที่บิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 20 – 40 และมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 50 – 80 ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้


ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม


   
   เป็นปัจจัยสำคัญมาก เพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าร่างกายเราเกิดจากสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ้น เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น เชื้อรา หรือฝุ่นละอองมากๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการแพ้ หรือแม้กระทั่งสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ยังเป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่ว่าสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าร่างกายโดยการหายใจ หรือจากการรับประทาน เช่น การแพ้อาหารทะเล หรือว่าแพ้นม เป็นต้น
 
   ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาหารที่เราแพ้นั้น มักจะเป็นอาหารประเภทโปรตีน เช่น นม อาหารทะเล ถั่วต่างๆ ซึ่งหากว่าเราแพ้นั้น ก็จะมีผื่นขึ้นตามตัว และอาจจะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารร่วม อย่างอาการปวดท้องหรืออาเจียน หรือแม้กระทั่งการแพ้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีส่วนผสมจากสารเคมี เช่น น้ำหอม ยาปฏิชีวนะ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาขัดห้องน้ำ เป็นต้น 

    ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้ ข้อสังเกตสำหรับผู้ป่วยโรคแพ้อากาศ คือ ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำมูกใส ๆ จาม คันจมูกหรือคัดจมูกเรื้อรัง โดย ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการคันเคืองตาร่วมด้วย อาการดังกล่าวมักเป็นมากในช่วงหัวค่ำ หรือหลังจากตื่นนอนตอนเช้าเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อากาศค่อนข้างเย็น โดยที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น อาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือเสมหะเขียว เป็นต้น

    นอกจากอาศัยการสังเกตอาการและอาการแสดงที่พบบ่อยของโรคภูมิแพ้แล้ว แพทย์อาจสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ในกรณีที่ตรวจพบโรคที่พบร่วมกับโรค ภูมิแพ้ได้บ่อย เช่น โรค เยื่อบุตาขาวอักเสบภูมิแพ้ โรคโพรงไซนัสอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือภาวะนอนกรนในเด็กจากโรคต่อมอะดีนอยด์โต ซึ่งเป็นโรคที่ตรวจพบร่วมได้บ่อยในผู้ป่วยโรคแพ้อากาศ โรค แพ้อากาศ ซึ่งเป็นโรคที่ตรวจพบร่วมได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหืด และโรคแพ้อาหารที่ตรวจพบร่วมได้บ่อยในผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น


ทราบได้อย่างไรว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้อะไรบ้าง สามารถทราบได้จาก
  • การทดสอบผิวหนัง
  • การตรวจเลือด การทดสอบผิวหนังจะให้ผลการตรวจที่แม่นยำกว่าการตรวจเลือด


โรคภูมิแพ้ กับ เห็ดหลินจือ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คำตอบก็คือเมื่อนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยผลการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีพบว่า เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญทางยาช่วยยับยั้งไม่ให้ร่างกายผลิตสาร ฮีสตามีน( Histamine ) ออกมา และสารดังกล่าวคือ
  • กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์ ( Polysaccharides ) ออกฤทธิ์รวมกัน ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด บี-เซลล์ (B-cells) และทีเซลล์ (T-cells) ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างมากของ สารอิมมูโนโกลบูลิน ( lmmunoglobulin ) และ สารอินเตอร์ลิวคิน (Interleukins) ซึ่งเป็นตัวต่อต้านสารที่ทำให้แพ้ (Antiallergy)
  • กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ชนิดขม ( Bitter Triterpenoids ) มีอยู่ประมาณ 100 ชนิดที่แตกต่างกัน และสารที่มีส่วนรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้คือกลุ่มสารกรดกาโน เดอริค ( Ganoderic acid A, B, C1, C2, D-K, R-Z ) และกรดลูซิเดนิค ( Lucidenic acid ) จะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งไม่ให้ร่างกาย ผลิตสารฮีสตามีนออกมา (Histamine–Release inhibition activity) รวมถึงกรดไขมันชนิดโอเลอิค (Oleic acid ) และสารไซโคล อ็อกต้าซัลเฟอร์ ( Cyclooctasulfur ) ซึ่งก็มีฤทธิ์ต้านไม่ให้ร่างกายผลิตสารฮีสตามีนออกมาเช่นกัน

สรุปคือ ถ้าเราสามารถยับยั้งไม่ให้ร่างกายผลิตสารฮีสตามีน ( Histamine ) ออกมา อาการแพ้ก็จะไม่ปรากฏหรือตุ่มคันตามตัวที่เคยมี ก็จะหายไป เพราะฉะนั้นการใช้เห็ดหลินจือในผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ก็คงเป็นเรื่องที่ทำได้เพราะมีการใช้ยาที่รองรับไว้
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :