สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
คือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ จึงส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็งหนา (ท่อเลือดแดงแข็ง) ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง และก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด หรือผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยการจับตัวเป็นก้อนของเกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว

จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงอีก เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงจึงเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบ่อยครั้งการซ่อมแซมจากร่างกายนี้ก่อให้หลอดเลือดถึงอุดตันจึงส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากสาเหตุขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรงจะเป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดทำงานทันที จึงเสียชีวิตได้ทันทีกะทันหัน นอกจากนั้น หลอดเลือดหัวใจยังสามารถบีบหดตัวได้ ดังนั้นเมื่อมีการหดตัวของหลอดเลือด จึงส่งผลให้รูท่อหลอดเลือดตีบแคบลง จึงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ เช่น จากภาวะมีความเครียดสูง เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงหรือกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่
- มีไขมันในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้หลอดเลือดอักเสบ
- โรคความดันโลหิตสูงจากผนังหลอดเลือดแข็งตัว (หลอดเลือดแดงแข็ง) และมักเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆเช่น เบาหวานและไขมันในเลือดสูง
- สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ทำลายเซลล์ของหลอดเลือดโดยตรง ก่อให้หลอดเลือดแข็งและยังทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงด้วย
- อ้วน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
- ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน
- ความเครียด เพราะส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองบีบหดตัว ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบ กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองจึงขาดเลือดได้
- กินอาหารไม่มีประโยชน์และกินอาหารไขมันสูง จึงมีผลต่อสุขภาพของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายรวมทั้งของหลอดเลือดหัวใจ
- พันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่าในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ bestofherb23 โรคหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการอย่างไร
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- เจ็บแน่นหน้าอกเมื่อใช้กำลังเพิ่มขึ้นหรือเมื่อมีความเครียด (ผู้หญิงมักไม่ค่อยพบมีอาการนี้) อาการอาจร้าวไปที่ขากรรไกร ไหล่ และ/หรือ แขนด้านใดก็ได้ แต่มักเป็นด้านซ้าย
- เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงหรือออกกำลัง
- อาการของโรคหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว บวมบริเวณหน้า แขนหรือขา
- จะไม่แสดงอาการเมื่อเริ่มเป็นโรคหรือเมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก
โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรงอย่างไร
โรคหลอดเลือดหัวใจจัดเป็นโรคเรื้อรังและรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดทั้งความพิการและเสียชีวิต
- ความพิการเช่น เป็นสาเหตุให้สมองขาดเลือด จากหัวใจทำงานลดลง จึงเกิดภาวะ อัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ง่าย
- และคุณภาพชีวิตลดลงเช่น ต้องจำกัดการออกแรงจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดโรคหัวใจวาย หรือโรคหัวใจล้มเหลว (โรคหัวใจ: หัวใจวายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ) bestofherb21
เห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างไร
เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ลดความหนืดของเลือด ลดความเข้มข้นของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี ได้สะดวก เพิ่มค่าความเร็วในการตกตะกอนของเลือด ลดระดับไขมันในเลือดทั้งคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อให้ไหลผ่านไปตามเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆได้ง่ายขึ้น
เห็ดหลินจือจะมีสารสำคัญที่ช่วยลดความดันโลหิต และลดไขมันในเลือดคือ กรดกาโนเดอริค ที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือทำหน้าที่ยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือด นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เห็ดหลินจือมี สารอัลคาลอยด์ ซึ่งสารชนิดนี้จะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานในผนังของเส้นเลือดของหัวใจ
นอกจากนี้ในเห็ดหลินจือยังมีสารเยอมาเนียมที่จะช่วยเข้าไปเพิ่มออกซิเจนในเลือดและช่วยสลายลิ่มเลือดไม่ให้อุดตันได้ ทั้งยังช่วยสลายไขมันและคอเรสเตอรอลที่อุดตันตามผนังหลอดเลือด ทำให้ร่างกายมีออกซิเจนในกระแสเลือดมากขึ้น จึงส่งผลต่อการทำงานของหัวใจได้ดีขึ้น จากการกินยาแผนปัจจุบันมากเกินไปจึงส่งผลให้ตับ ไต มีปัญหาตามมา ดังนั้นเราจึงควรหันมาให้ความสำคัญในการรักษากับสมุนไพรธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพและไม่มีสารตกค้าง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแม้จะรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็ตาม

|